ผู้สูงอายุ

มีนาคม 25, 2025
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ทำอย่างไร?ผู้สูงอายุ”กลั้นปัสสาวะ”ไม่อยู่

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะรดที่นอน ปัสสาวะรั่วเมื่อไอจาม เป็นปัญหาที่ผู้สูงอายุหลายคนต้องเจอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามหรือนิ่งนอนใจ เพราะจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่สร้างความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจให้ผู้สูงอายุได้ค่ะ วันนี้ Casoft มีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยลดปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของผู้สูงอายุให้น้อยลงมาฝากกันค่ะ • ปรับวิธีการดื่มน้ำ โดยให้ดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนเข้านอน • ฝึกควบคุมการขับถ่าย ฝึกกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นก่อนปัสสาวะและในขณะที่กำลังปัสสาวะควรปัสสาวะช้าๆและปัสสาวะให้หมด โดยห้ามเบ่งเด็ดขาด • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทานผักผลไม้เพื่อลดอาการท้องผูก • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการยกของหนักเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้องภายในที่จะไปกดกระเพาะปัสสาวะได้ • ฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด ครั้งละประมาณ 5 วินาที และหยุดขมิบ 10 วินาที ทำซ้ำให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยแบ่งทำในช่วงเช้า กลางวัน และเย็น เป็นประจำทุกวัน แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้มากขึ้นและระหว่างนี้หากปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ยังไม่ลดลง สามารถเลือกใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มความมั่นใจและเพื่อลดความกังวลได้ค่ะ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ Casoft ผ้าอ้อมที่ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย
อ่านเพิ่มเติม
มกราคม 28, 2025
casoft , ผ้าอ้อมผู้ใหญ่

5 เหตุผลที่อาจทำให้ “ผู้สูงอายุ” เสี่ยงที่จะเป็นภาวะ “ซึมเศร้า”

นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายแล้ว เรื่องของสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลายสิ่ง ผู้สูงอายุจะมีอารมณ์และความรู้สึกเปราะบางเป็นพิเศษ ซึ่งอาจส่งผลให้สุขภาพจิตย่ำแย่ลงและอาจพัฒนากลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่ทำร้ายสุขภาพจิตตัวเอง แต่ยังกระทบต่อชีวิตและความสุขของคนรอบข้างได้ด้วย อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มักจะเริ่มเกิดในช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยมี 2 ลักษณะ คือ มีอาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว อาการที่แสดงออกได้แก่ ไม่มีความสุข หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ รอบตัว มองโลกในแง่ร้าย ชอบอยู่เงียบๆ ตามลำพัง รู้สึกชีวิตสิ้นหวัง มองว่าตนไม่มีคุณค่า บางรายมีอาการตรงกันข้ามคือ หงุดหงิด โมโหง่าย เอาแต่ใจตนเอง น้อยใจง่าย ทะเลาะกับลูกหลานบ่อยครั้ง จนไปกระทบกับร่างกายทำให้ นอนไม่หลับ นอนมากเกินปกติ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เบื่ออาหาร และอาจนำไปสู่การคิดทำร้ายตัวเอง เหตุผลที่อาจทำให้ “ผู้สูงอายุ” เสี่ยงที่จะเป็นภาวะ “ซึมเศร้า” 1. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม จากที่เคยทำงานทุกวัน แต่ต้องมาอยู่เฉยๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รับมือได้ค่อนข้างยาก สำหรับผู้สูงอายุส่วนใหญ่เคยชินกับการที่ต้องทำงานมาตลอดหลายสิบปี บางคนเคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โต พอเกษียณมาชีวิตก็เปลี่ยนไปไม่มีคนมาล้อมหน้าล้อมหลัง หลายคนทำงานหนักมาทั้งชีวิต ก็เปลี่ยนมาเป็นว่างงาน อาจทำให้รู้สึกหดหู่ขึ้นมาได้ 2. ความเหงาเมื่อต้องอยู่คนเดียว เมื่อไม่ได้ออกไปทำงาน และต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านคนเดียวในช่วงกลางวัน เพราะลูกหลานก็ออกไปทำงานไปเรียนหนังสือกันหมด ผู้สูงอายุอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย มันเงียบ มันเหงา มันโล่ง จนดูวังเวง อ้างว้าง น่ากลัว 3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายคือความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุด ความจำแย่ลง หูตึง มองอะไรก็ไม่ค่อยเห็น มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ทำให้ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลงและต้องพึ่งพาคนอื่นมากขึ้น 4. ความสำคัญและบทบาทหน้าที่ลดลง จากที่เคยทำงานเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นเสาหลักของบ้าน จากที่เคยช่วยเหลือตนเองได้ดีกลับต้องมาพึ่งพาคนอื่นมากขึ้น เงินที่เคยหาใช้ได้เองก็ต้องรอจากลูกหลานแทน ทำให้รู้สึกว่าบทบาทความสำคัญของตัวเองลดลง ทำให้ผู้สูงอายุบางคนรู้สึกเคว้งคว้าง สิ้นหวัง จนคิดว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีประโยชน์ แก่แล้วมีแต่เป็นภาระให้คนอื่น บางคนจึงรู้สึกรับตัวเองไม่ได้ ยิ่งถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นลบ คนในครอบครัวไม่สนใจ ไม่มีสังคม ก็อาจจะยิ่งแย่ 5. ความรู้สึกที่ต้องสูญเสียบุคคลรอบตัว ยิ่งได้เห็นคนรอบข้างทยอยจากไปทีละคน ตั้งแต่พ่อแม่ ญาติ พี่น้อง คู่ชีวิต เพื่อนฝูง ลูกหลาน เ การพลัดพรากสูญเสียนี้ แม้หลายคนจะพยายามปลอบใจตัวเองว่าไม่เป็นไร ชินแล้ว แต่การที่ต้องรับรู้ว่าบุคคลอันเป็นที่รักจากไปเรื่อยๆ แบบนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำใจได้ง่ายๆ เป็นความโดดเดี่ยวและน้อยอกน้อยใจคนที่จากไป ที่ทิ้งให้ตนเองต้องใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพัง ทำให้ขาดที่พึ่งทางใจ สรุป การเกิดภาวะซึมเศร้านั้นเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน การรักษานั้นอาจให้เข้าพบจิตแพทย์เพื่อพูดคุยให้คำปรึกษา บำบัดจิต ปรับวิธีคิด และปรับทัศนคติทางลบให้ดีขึ้น จะช่วยเปลี่ยนมุมมอง และเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่เข้ามามากขึ้นและครอบครัว คนรอบข้าง ต้องเข้าใจ และเอาใส่ใจดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ไม่ทิ้งผู้สูงอายุไว้ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอยู่เสมอ . ผ้าอ้อมผู้ใหญ่คาซอฟท์ ผ้าอ้อมที่ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย สั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ​ FAEBOOK SHOPEE LAZADA TIKTOK LINE OA
อ่านเพิ่มเติม